
นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ เขามีสโลแกนว่า Experience the best of Rattanakosin in a day
แปลเป็นไทยได้ว่า "คุณค่าแห่งยุคสมัย สัมผัสได้ในหนึ่งวัน"
ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก (สูงไม่เกิน 110 ซ.ม.) 30 บาท (ราคาเท่ากันทั้งคนไทยคนต่างชาติ)
แต่เปิดให้เข้าฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายสำหรับนักเรียน นักศึกษา (ป.ตรี) ที่แต่งเครื่องแบบหรือพกบัตรประจำตัวมาก็ได้ รวมไปถึงผู้สูงวัยอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้พิการ และพระภิกษุหรือนักบวช
ในแต่ละ 1 รอบ สามารถเข้าชมได้ทีละไม่เกิน 23 คน แล้วก็มีรอบออกกันทุก 20 นาที
นิทรรศการที่นี่จะแบ่งเป็นห้อง ๆ ทั้งหมด 7 ห้อง
ก่อนอื่นเราได้มานั่งฟังบรรยายจากเจ้าหน้าที่ถึงประวัติความเป็นมาในการก่อตั้งนิทรรศน์รัตนโกสินทร์
ห้องแรกคือ รัตนโกสินทร์เรืองโรจน์ ที่จัดเหมือนเป็นห้องฉายหนังเล็ก ๆ
ห้องนี้จะมืดสักนิด เพราะเขาจัดให้เป็นจอฉายบอกเล่าเรื่องราวของชุมชนเก่าแก่ให้ได้ชมกัน
จะได้มารู้กันว่าที่เรียกว่า บ้านดินสอ นั้นไม่ใช่ย่านขายเครื่องเขียนแบบ B2S สมัยนี้ แต่เป็นย่านที่ทำ "ดินสอพอง" ขายกัน หรืออย่างบ้านดอกไม้ ใครที่นึกไปถึงตลาดดอกไม้สวย ๆ แบบเดียวกับที่ปากคลองตลาด ก็ต้องบอกว่าย่านนี้เขาขาย "ดอกไม้ไฟ" กันต่างหาก
ถัดมาเป็นห้อง เกียรติยศแผ่นดินสยาม
อาคารยอดปราสาทอย่างที่เห็น เป็นประเพณีแต่โบราณมาแล้วว่าจะสร้างได้เฉพาะในพระราชวังที่ประทับของพระมหากษัตริย์เท่านั้น
วัดพระแก้ว
เขตพระราชฐานชั้นในจะไม่ให้ผู้ชายเข้าไป เพราะงั้นแม้แต่คนที่ทำหน้าที่ รปภ. ก็ยังใช้ผู้หญิงที่มีชื่อเรียกว่า "โขลน"
สมัยโบราณเขาจะนิยมส่งลูกหลานผู้หญิงเข้าไปถวายตัวรับใช้เจ้านายผู้หญิงในวัง เพราะจะได้รับการอบรมสั่งสอนกิริยามารยาทและงานฝีมืออย่างชาววัง
การฉายการละเล่นสารพัดรูปแบบผ่านจอ 360 องศารอบตัว
ห้องนี้ชื่อ เรืองนามมหรสพศิลป์ เป็นเรื่องราวระบำ รำ เต้น ที่กลายมาเป็นมหรสพประจำชาติไทย
- หนังใหญ่ มหรสพชั้นสูงที่เป็นการแสดงที่รวมงานศิลปะหลากหลายแขนงไว้ด้วยกัน แล้วยังมีหลักฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นแล้ว
- ว่ากันว่าหนังใหญ่เป็นต้นกำเนิดของมหรสพอีกชนิดที่เรียกว่า โขน
ถ้าใครอยากพาแขกต่างชาติไปชมการแสดงของจริงกัน เขามีจัดแสดงเป็นประจำทุกวันศุกร์และวันเสาร์อยู่ที่ ศาลาเฉลิมกรุง
หัวโขนไหนเป็นตัวละครอะไรเขามีป้ายบอกเอาไว้ ถ้าดูแล้วจำได้ว่าใครเป็นใครก็จะช่วยให้เราสนุกกับการดูโขนได้มากขึ้น
ในเกาะรัตนโกสินทร์นอกจากวัดวังที่น่าสนใจแล้ว ยังมีย่านชุมชนเก่าแก่หลายต่อหลายแห่ง ที่แน่นอนว่าจะต้องมีที่เที่ยวแหล่งกินของแต่ละย่าน
- ก่อนเข้าไปชมเจ้าหน้าที่จะชวนให้ถ่ายรูป อย่าอิดออดขัดเขินให้รีบรี่เข้าไปถ่ายเลยเชียว แต่ถ่ายแล้วจะเป็นยังไงต่อขอเก็บเป็นเซอร์ไพร์สให้ไปลองกันเอง แต่รับรองว่าต้องประทับใจแน่ ๆ
รูปเพื่อนๆ
ลงไปต่อที่ชั้น 2 ที่จะเป็นห้อง ลือระบิลพระราชพิธี
ที่ชอบมากคือฉากหลังที่ใช้ฉายภาพงานพระราชพิธี เข้าไปดูใกล้ ๆ แล้วจะเห็นว่าเป็นเมล็ดข้าวเรียงกันเต็มไปหมด เหมือนจะสื่อให้เห็นว่าบ้านเราช่างอุดมสมบูรณ์ไปด้วยข้าวปลาอาหารเสียจริง ๆ
พระราชพิธีนี้จะปิดท้ายด้วยการเสี่ยงทายพระโคว่าจากกระยาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ ที่มี พระโคจะเลือกกินอะไร แล้วสิ่งที่พระโคกินก็จะมีคำทำนายต่าง ๆ กันไป อย่างถ้าพระโคกินถั่วก็ทำนายว่า ผลาหาร ภักษาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี
ช้าง เป็นสัตว์ที่มีความสำคัญและผูกพันกันวิถีชีวิตของคนไทยมาแต่สมัยโบราณ อย่างที่่ถือกันว่าพระมหากษัตริย์ที่มีบุญญาธิการก็จะมีช้างเผือกมาสู่พระบารมี และแม้ครั้งหนึ่งรูปช้างบนผืนผ้าแดงก็เคยใช้เป็นธงชาติไทยมาในยุคหนึ่ง
ภาพในหลวง
ต่อไปเป็น ห้อง สง่าศรีสถาปัตยกรรม ที่ต้อนรับกันด้วยลายเส้นของสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นของกรุงรัตนโกสินทร์
เดินมาถึงตรงนี้เหมือนมาอยู่แถวลานวัด
แล้วต่อไปเขาจะมีบริการร้านกาแฟอยู่ที่นี่กันด้วย ทั้งที่ชั้นล่างติดถนนราชดำเนินกับบนชั้น 4 ที่วิวเริ่ดมาก เพราะเป็นมุมที่มองไปเห็นลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ วัดราชนัดดา และ ภูเขาทองที่วัดสระเกศ
ใครสนใจมาเที่ยวที่นี่ เขาเปิดให้บริการกันทุกวัน ยกเว้นวันจันทร์วันเดียว
วันธรรมดาเปิด 11.00 - 20.00 น. แต่ถ้าเป็นวันหยุดก็จะเปิดเร็วขึ้นเป็นตั้งแต่ 10 โมงเช้า ส่วนเวลาปิดยังเหมือนเดิมคือ 2 ทุ่ม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น